บทนำ
การก่อสร้างอาคารโรงงาน คือการนำเอาวัสดุก่อสร้างส่วนต่างๆ มาประกอบกันเป็นตัวอาคารตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ตัวขนาดอาคาร ความสูงอาคาร รูปทรงของอาคาร ส่วนใหญ่จะมีความเหมือนกันทั้งขนาดและการใช้วัสดุตลอดทั้งอาคาร ซึ่งเป็นการสะดวกที่จะทำการผลิตชิ้นส่วนทั้งโครงสร้างหลักและโครงสร้างรองจากโรงงานผลิตและขนส่งเข้าไปติดตั้งที่หน่วยงาน
เป็นที่ทราบกันดีถึงค่าวัสดุก่อสร้างที่มีราคาสูงและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การออกแบบก่อสร้างแบบ Modular System คือการใช้วัสดุซ้ำกันสามารถนำมาใช้กับโครงสร้างได้หลายชนิด เช่น เหล็กที่สั่งเข้ามาผลิตเสาเหล็กคานนำส่วนที่เหลือมาใช้กับคานเหล็ก หรือชิ้นส่วนของโครง TRUSS NO. T1 จะถูกออกแบบให้นำไปใช้ใน NO. อื่นๆ เพื่อการใช้ประโยชน์จากเหล็กรูปพรรณ 1 เส้นได้อย่างคุ้มค่า
ประหยัดค่าก่อสร้าง
การนำเข้าวัสดุ เช่น เหล็กรูปพรรณจำนวนมากเข้าสู่โรงงานผลิต การทำแบบ Shop Drawing เพื่อคำนวณปริมาณวัสดุอย่างแม่นยำ และการตัดต่อชิ้นส่วนเหล็กตามรายการคำนวณ Cutting List จะทำให้ช่วยประหยัดปริมาณวัสดุที่จะใช้ในโครงการ รวมถึงการคำนวณในโรงงานที่มีเครื่องมือ เครื่องจักร ที่ครบครัน ก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตการทำงานและลดการผิดพลาดจากการทำงาน ส่งผลให้ลดค่าก่อสร้างลงได้
มีความคล่องตัวสูง
การก่อสร้างรูปแบบเดิมต้องขนย้ายวัสดุ แรงงาน ทั้งหมดเข้าไปก่อสร้างทั้งหมดในพื้นที่ รวมทั้งงานโครงสร้างเหล็ก ที่ต้องเข้าไปประกอบและติดตั้งในพื้นที่ก่อสร้าง แต่เมื่อนำระบบ Pre-Fab มาใช้ เราสามารถลดพื้นที่การก่อสร้างลงไปได้มาก ทำให้ลูกค้านำพื้นที่ส่วนนี้ไปใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือสามารถผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของอาคารรอไว้ได้ ในกรณีที่ยังสรุปรายละเอียด Detail ของงานส่วนอื่น ทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างสั้นลงด้วยการใช้วิธีออกแบบและก่อสร้างควบคู่กัน
การควบคุมคุณภาพ
การผลิตชิ้นส่วนอาคารในโรงงาน สามารถควบคุมคุณภาพได้ตั้งแต่การตรวจสอบคุณภาพของวัสดุก่อสร้างที่จะนำเข้าโรงงานผลิต มาตรฐานการประกอบติดตั้งของแรงงาน ความแม่นยำ ขนาด-ระยะ ของแต่ละชิ้นส่วน รวมถึงงานสีทั้งสีกันสนิมและสีทับหน้า ( Finished ) Top Coat เปรียบเทียบกับการเชื่อมประกอบที่หน้างานที่จะควบคุมคุณภาพได้ยากกว่า
ลดปริมาณเศษวัสดุใน Site งาน
การผลิตและจัดการของเสีย ( Scrap ) ในโรงงานผลิตจะช่วยลดปริมาณของเสียใน Site งาน การก่อสร้างรูปแบบเดิมต้องขนส่งวัสดุเข้าไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณเศษวัสดุที่เหลือจากการผลิตจะมีปริมาณสูงมากเมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบ Pre-Fab
ระยะเวลาการก่อสร้างสั้นลง
การผลิตชิ้นส่วนในโรงงานจะลดเวลาการก่อสร้างให้สั้นลง เนื่องจากการทำงานในโรงงานสามารถควบคุมปริมาณการผลิตในแต่ละวันได้ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ใน Site งาน คือ ฝนตก แดดออก ความร้อนสูง ปัจจัยเหล่านี้คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ปริมาณการผลิตในแต่ละวันลดลง รวมทั้งการยากลำบากในการลำเลียงวัสดุเข้าส่งที่หน่วยงานเกิดความล่าช้า เนื่องจากขาดวัสดุหรือการขาดอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องทุ่น และอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำไปที่ Site งานได้ เช่น เครื่องตัดเจาะขนาดใหญ่ เครนโรงงาน ( Overhead Crane ) ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยให้งานรวดเร็วขึ้น